ต้นการเวก
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys hexapetalus (Linn.f.) Bhandari.
ชื่อพื้นเมือง : ต้นการเวก
- ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้รอเลื้อยที่นิยมปลูกมากในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เพราะเป็นไม้ที่แตกกิ่งมาก ให้ใบดกเขียวทั้งปี และมีอายุยืนนาน รวมถึงทนต่อสภาพอากาศร้อน และทนต่อภาวะมลพิษทางอากาศได้สูง จึงนิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา และช่วยลดมลพิษทางอากาศ รวมถึงเป็นได้ประดับดอกด้วย
- การขยายพันธุ์ : การเวกนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง รวมถึงใช้วิธีการปักชำกิ่ง โดยการเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่มีขนาดใหญ่ และมีอายุยืนยาวกว่าการปลูกจากกิ่งที่ได้จากการตอนหรือการปักชำ แต่การเพาะด้วยเมล็ดจะงอกช้า เพราะเปลือกเมล็ดค่อนข้างแข็ง และหนา ดังนั้น ควรแช่น้ำก่อน 1-2 วัน ก่อนเพาะ และเมื่อปลูกจนต้นมีขนาดใหญ่แล้ว จำเป็นต้องทำที่ค้ำยันเพื่อให้กิ่งพาดเลื้อยได้
- ประโยชน์
1. ดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ทำน้ำหอม และยาหอม ใช้ทานวด และใช้ในด้านความสวยความงาม
2. ดอกนำมาห่อรวมกันในใบ และสูดดม ช่วยในการผ่อนคลาย
3. ปลูกเป็นไม้ประดับต้น และประดับดอก
4. ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
5. ปลูกเพื่อใช้เป็นแนวรั้วหรือเขตแดน
6. เนื่องจากระดังงาจะให้ใบจำนวนมาก ใบดกเขียวอยู่นาน จนเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาได้ดี รวมถึงทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ อาทิ ทนต่อแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศสูง ทนต่อสภาพแห้งแล้ง จึงนิยมใช้ปลูกในเมืองใหญ่เพื่อให้ร่มเงา และช่วยบำบัดมลพิษทางอากาศ ดังที่พบเห็นตามข้างถนนในกรุงเทพมหานคร
สถานที่พบ ข้างสนามฟุตบอล
อ้างอิง https://sites.google.com/site/wachiratham59602/home/35
- การขยายพันธุ์ : การเวกนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง รวมถึงใช้วิธีการปักชำกิ่ง โดยการเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่มีขนาดใหญ่ และมีอายุยืนยาวกว่าการปลูกจากกิ่งที่ได้จากการตอนหรือการปักชำ แต่การเพาะด้วยเมล็ดจะงอกช้า เพราะเปลือกเมล็ดค่อนข้างแข็ง และหนา ดังนั้น ควรแช่น้ำก่อน 1-2 วัน ก่อนเพาะ และเมื่อปลูกจนต้นมีขนาดใหญ่แล้ว จำเป็นต้องทำที่ค้ำยันเพื่อให้กิ่งพาดเลื้อยได้
- ประโยชน์
1. ดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ทำน้ำหอม และยาหอม ใช้ทานวด และใช้ในด้านความสวยความงาม
2. ดอกนำมาห่อรวมกันในใบ และสูดดม ช่วยในการผ่อนคลาย
3. ปลูกเป็นไม้ประดับต้น และประดับดอก
4. ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
5. ปลูกเพื่อใช้เป็นแนวรั้วหรือเขตแดน
6. เนื่องจากระดังงาจะให้ใบจำนวนมาก ใบดกเขียวอยู่นาน จนเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาได้ดี รวมถึงทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ อาทิ ทนต่อแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศสูง ทนต่อสภาพแห้งแล้ง จึงนิยมใช้ปลูกในเมืองใหญ่เพื่อให้ร่มเงา และช่วยบำบัดมลพิษทางอากาศ ดังที่พบเห็นตามข้างถนนในกรุงเทพมหานคร
สถานที่พบ ข้างสนามฟุตบอล
อ้างอิง https://sites.google.com/site/wachiratham59602/home/35
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น