ต้นเล็บครุฑ

ต้นเล็บครุฑ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นเล็บครุฑ


ชื่อสามัญ : เล็บครุฑ (Ming aralia)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyscias fruticosa (L.) Harms
ชื่อพื้นเมือง : เล็บครุฑฝอย เล็บครุฑผักชี
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้น
เล็บครุฑ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร ต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีเทา ผิวลำต้นสากมือ ลำต้นแตกกิ่งตั้งตรงรวมกันเป็นทรงพุ่ม และมีปุ่มนูนบริเวณกาบใบที่ร่วงไป
ใบ
ใบเล็บครุฑ แตกออกจากลำต้น และกิ่ง โดยเรียงสลับกันเป็นชั้นๆ ใบเป็นใบประกอบมีก้านใบหลักยาว โคนก้านใบหลักมีตุ่มหนามเล็กๆสีขาว และถัดขึ้นมาเป็นจุดประสีขาวสลับกับสีเขียวเข้ม จากนั้น ก้านใบหลักแตกก้านใบย่อยออก ก้านใบย่อยมีใบเรียงกันเป็นคู่ตรงข้ามกัน 5-9 ใบ โดยใบสุดท้ายเป็นใบเดี่ยว ใบย่อยแต่ละใบมีลักษณะเรียวยาว ขอบใบหยักลึกหลายหยัก คล้ายกรงเล็บ ส่วนปลายใบแหลม
ดอก
ดอกเล็บครุฑ แทงออกปลายยอดของลำต้น ช่อดอกมีขนาดใหญ่ และแตกแขนงช่อย่อยจำนวนมาก แต่ละช่อมีดอกรวมกันเป็นกระจุก 20-40 ดอก
ผล และเมล็ด
ผลเล็บครุฑ มีลักษณะค่อนข้างกลม รวมกับหลายผลเป็นกระจุก

การขยายพันธุ์ :
การปลูกด้วยเมล็ด
– นำเมล็ดแช่น้ำที่ผสมน้ำตาลประมาณ 10% เช่น น้ำ 1 ลิตร ใช้น้ำตาล 100 กรัม โดยแช่เมล็ดนาน 6 ชั่วโมง
– นำเมล็ดลงเพาะในถุงเพาะชำ ถุงละ 1-2 เมล็ด
– จากนั้น นำถุงเพาะชำวางใว้ในที่แสงแดดรำไร รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน ประมาณ 7-15 วัน เมล็ดก็เริ่มงอก
– หลังจากนั้น ต้นพันธุ์แตกใบแล้ว 3-5 ใบ จึนำปลูกลงดินได้ หรือหากปลูกในกระถางอาจปล่อยให้เติบโตสักระยะ ก่อนเปลี่ยนใส่กระถางที่มีขนาดใหญ่กว่า
การเสียบยอด
– เพาะต้นพันธุ์ในกระถาง และดูแลให้มีขนาดลำต้นประมาณนิ้วก้อย
– เลือกกิ่งจากต้นพันธุ์ดี พร้อมตัดปลายกิ่งส่วนที่มีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ อาจเล็กกว่าเล็กน้อยก็ได้ แต่ห้ามให้ใหญ่กว่า พร้อมเด็ดใบออกให้หมด
– ปาดโคนกิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ ตัว V ซ้าย-ขวา ให้เรียบ และสม่ำเสมอ
– ตัดต้นตอในแนวขวางลำต้น ให้เหลือโคนต้นสูงประมาณ 5 เซนติเมตร
– ผ่าต้นตอให้เป็นรูปตัว V ในขนาดที่พอเหมาะกับตัว V คล่ำของกิ่งที่ใช้เสียบ
– นำกิ่งที่ปาดเป็นรูปตัว V เสียบลงตรงรอยผ่าของต้นตอให้รอยปาด และรอยกรีดจรดเสมอกัน ก่อนพันด้วยแผ่นพลาสติกให้แน่น
– หลังจากนั้น ดูแลให้น้ำปกติ จนส่วนยอดแทงใบใหม่แล้ว จึงนำลงปลูกต่อไป

ประโยชน์ :

ใบ (มีกลิ่นหอม ให้รสเผ็ดร้อน)
– ใบนำมาต้มดื่มแก้อาการปวดหัว แก้ไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว
– น้ำต้มจากใบมีกลิ่นหอม ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
– น้ำต้มจากใบใช้ดื่ม แก้อาการปวดตามข้อต่างๆ
– นำใบมาตำบด สำหรับพอกรักษาแผล แก้แผลอักเสบ
– นำมาพอกทารักษาผื่นคัน
– นำมาพอกทารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
– ใบนำมาขยำแล้วอุดรูจมูก สำหรับแก้เลือดกำเดาออก
ลำต้น (รสฝาด)
– นำมาต้มดื่มช่วยดับพิษร้อน
– น้ำต้มช่วยรักษาท้องร่วง
– น้ำต้มดื่ม แก้อาการปวดหัว ช่วยลดไข้
– แก่นลำต้นนำมาฝนใช้ทาสมานแผล
ราก (รสร้อน)
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยให้ผ่อนคลาย
– แก้ปวดตามข้อ
ความเชื่อ : เป็นไม้มงคลที่เชื่อว่าจะคอยคุ้มครองภยันตรายไม่ให้กล้ำกลาย ทั้งภูตผี วิญญาณชั่วร้าย เวทมนต์ดำ และสิ่งอัปมงคลต่างๆ
เกร็ดความรู้อื่นๆ : จัดเป็นไม้ประดับต้นที่นิยมปลูกทั้งในกระถาง และแปลงจัดสวน เนื่องจากมีลำต้น และทรงพุ่มไม่สูง ใบมีลักษณะแปลก มีลวดลายสวยงาม
สถานที่พบ หลังอาคาร 3
อ้างอิง https://sites.google.com

ความคิดเห็น