ต้นกล้วย

ต้นกล้วย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




ชื่อสามัญ BANANA

ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa ABB cv. Kluai 'Namwa'
ชื่อพื้นเมือง กล้วยกะลิอ่อง,กล้วยมะนิอ่อง,กล้วยไข่,กล้วยใต้,กล้วยนาก,กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือ,กล้วยส้ม,กล้วยหอม,กล้วยหอมจันทน์,กล้วยหักมุกเจก,มะลิอ่อง,ยาไข่,สะกุย
ลักษณะทั่วไป
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดิน ส่วนเหนือดินเป็นลำต้นเทียมเกิดจากกาบใบห่อหุ้มซ้อนกันลักษณะคล้ายลำต้น ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายตัด ขอบเรียบ เส้นกลางใบแข็ง มีเส้นใบจำนวนมากออกจากเส้นกลางใบทั้ง 2 ข้าง ขนานกันไปจรดขอบใบ ก้านใบยาว เป็นร่อง ดอกออกเป็นช่อ (เรียกว่า ปลี) ห้อยลง ก้านช่อดอกแข็ง ดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียจะอยู่ตอนล่างของช่อดอกและบานก่อน แต่ละช่อย่อยจะรองรับด้วยใบประดับขนาดใหญ่สีม่วงแดง (กาบปลี) ดอกย่อยรูปทรงกระบอก มีกลีบดอก 6 กลีบ มี 1 กลีบเดี่ยวขนาดเล็ก ที่เหลืออีก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลทรงกระบอกหรือมีเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกหนาสีเขียว เมื่อสุกเปลือกสีเหลือง มีรสหวานรับประทานได้
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยเมล็ด,การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ
ประโยชน์
ราก –แก้ขัดเบา,ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน,ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล,ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง,กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะและอาหารไม่ย่อย,กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็งหรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
สถานที่พบ ด้านหน้าโรงเรียน
อ้างอิง https://sites.google.com/site/wachiratham59602/32

ความคิดเห็น